จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่  13
วันที่   31   ตุลาคม   2559

ความรู้ที่ได้รับ
  • วิเคราะห์แบบสอบถามการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
โดยให้แต่ละกลุ่มรายงานและรายงานปัญหาที่พบเมื่อไปสำรวจความต้องการของผู้ปกครอง

การดำเนินงาน
          ดำเนินงานที่ ศูนย์เด็กเล็กรุ่งมณีพัฒนาโดยจัดทำแบบสอบถามทั้งหมด 50 ชุด

ปัญหาที่พบ
  1. ผู้ปกครองบางท่านไม่สะดวกในการทำแบบสอบถาม
  2. ผู้ปกครองไม่เข้าใจหัวข้อต่างๆ
  3. ผู้ปกครองเป็นผู้สูงอายุ
  4. ผู้ปกครองเป็นชาวต่างชาติ
  5. ผู้ปกครองไม่มีเวลา

ข้อเสนอแนะจากผู้ปกครอง
  1. อยากทราบเรื่องการเรียนของเด็กพิเศษสามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติได้หรือไม่
  2. อยากทราบการดำรงชีวิต
สรุปผล


ผลความต้องการของผู้ปกครอง  3  อันดับแรกคือ
  1. นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
  2. เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย
  3. การประดิษฐ์ของเล่นจากของเหลือใช้
การประยุกต์ใช้
  • สามารถนำเอาบทสรุปปัญหาต่างๆไปปรับปรุงใช้ได้ในอนาคต
การประเมินผล
  • ประเมินตนเอง  ให้ความร่วมเป็นอย่างดี
  • ประเมินเพื่อน    ให้ความร่วมเป็นอย่างดี
  • ประเมินผู้สอน  ให้คำแนะนำและอธิบายเมื่อไม่เข้าใจ

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่  12
วันที่   24   ตุลาคม   2559

***หยุดชดเชยวันปิยะมหาราช***

วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่  11
วันที่   17  ตุลาคม   2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • สัมภาษณ์ผู้ปกครอง
แจกแบบสอบถามเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่จะจัดการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
ณ ศูนย์เด็กเล็กรุ่งรวีพัฒนา  กรุงเทพมหานคร

ตัวอย่างแบบสอบถาม
เรื่อง  ความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย 
คำชี้แจง แบบสอบถามนี้ประกอบด้วยข้อคำถามที่เกี่ยวกับความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยของท่าน ขอให้ท่าน อ่านข้อความให้จบแล้วพิจารณาว่าตรงกับความเป็นจริงมากน้อยเพียงใด โปรดทำเครื่องหมาย / ลงในช่อใดช่องหนึ่งใน 4 ช่อง ที่ตรงกับความคิดเห็นของท่านมากที่สุดเพียงข้อเดียว แบบสอบถามนี้แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ
มากที่สุด        หมายถึง                ข้อความในข้อนั้นเป็นความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ต่อการเรียนรู้     
                                          เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยมากที่สุด
มาก                 หมายถึง                ข้อความในข้อนั้นเป็นความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ต่อการเรียนรู้
                                          เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยมาก
      น้อย               หมายถึง                ข้อความในข้อนั้นเป็นความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ต่อการเรียนรู้
                                          เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยน้อย
     น้อยที่สุด        หมายถึง                ข้อความในข้อนั้นเป็นความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ต่อการเรียนรู้
                                             เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยน้อยที่สุด


ข้อที่

ความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย
ระดับความคิดเห็น
มากที่สุด
มาก
น้อย
น้อยที่สุด
1
พัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กปฐมวัย




2
อาหารและโภชนาการสำหรับเด็ก




3
การเลือกของเล่นสำหรับเด็ก




4
การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย




5
สุขภาพอนามัยแม่และเด็ก




6
สื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย




7
นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย




8
เกมการศึกษาสำหรับเด็ก




9
การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็ก




10
การจัดสภาพแวดล้อมที่บ้าน




11
การประดิษฐ์ของเล่นจากของเหลือใช้




12
การประดิษฐ์สื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์




13
การประดิษฐ์สื่อการเรียนคณิตศาสตร์




14
การประดิษฐ์สื่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กพิเศษ




15
การออกกำลังกายสำหรับเด็ก




16
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




17
คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




18
วิธีการปลูกฝังคุณธรรม8ประการสำหรับเด็กปฐมวัย




19
เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย




20
วิธีการเลี้ยงดูเด็กพิเศษ





  • บรรยากาศการสอบถาม



  • ผลการสัมภาษณ์
  1. ผู้ปกครองส่วนมากที่มารับเด็กจะไม่ใช่พ่อแม่แต่เป็นลุง  ป้าและไม่ค่อยเข้าใจว่าสอบถามไปเพื่ออะไรจึงไม่ค่อยให้ความร่วมมือ  
  2. ผู้ปกครองส่วนใหญ่รีบมารับเด็กแล้วกลับเลย
  3. ผู้ปกครองไม่เข้าใจแบบสอบถามบางข้อ
การประยุกต์ใช้

  • สามารถนำผลการสอบถามไปใช้ในการเลือกกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครองได้
การประเมินผล

  • ประเมินตนเอง  มีความตั้งและให้ความร่วมมือดี
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆให้ความร่วมมือดี
  • ประเมินผู้สอน  ให้คำปรึกษาและคำแนะนำก่อนออกไปสัมภาษณ์เป็นอย่างดี

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่  10
วันที่   10   ตุลาคม   2559

ความรู้ที่ได้รับ
  • การเขียนโครงการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
ส่วนประกอบการเขียนโครงการ มีดังนี้

1.ชื่อโครงการ
           การตั้งชื่อโครงการต้องมีความชัดเจน เหมาะสม และเฉพาะเจาะจง เป็นที่เข้าใจได้โดยง่ายสำหรับผู้นำโครงการไปใช้หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ชื่อโครงการจะบอกให้ทราบว่า จะทำสิ่งใดบ้าง โครงการที่จัดทำขึ้นนั้น ทำเพื่ออะไร ชื่อโครงการโดยทั่วไปควรจะต้องแสดงลักษณะ งานที่ต้องปฏิบัติ ลักษณะเฉพาะของโครงการ และจุดมุ่งหมายของโครงการ

2.วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
          โครงการทุกโครงการจำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเป็นเครื่องชี้แนวทางในการดำเนินงานของโครงการ โดยวัตถุประสงค์จะเป็นข้อความแสดงถึงความต้องการที่จะจัดทำสิ่งต่างๆภายในโครงการให้ปรากฏผลเป็นรูปธรรม ซึ่งข้อความที่ใช้เขียนวัตถุประสงค์จะต้องชัดเจน ไม่คลุมเครือ สามารถวัดและประเมินผลได้ โครงการแต่ละโครงการสามารถมีวัตถุประสงค์มากกว่า 1 ข้อ

3.เนื้อหา/หลักสูตร
          เป็นเนื้อหาการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดกิจกรรม ความรู้ต่างๆที่จัดให้ผู้ปกครองได้รับ อาจเป็นความรู้ที่สามารถอ้างอิงได้

4.เป้าหมาย มี 2 แบบ
       - เชิงปริมาณ เช่น ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 อายุ 3-5 ปี โรงเรียนพิกุลเงิน จำนวน 20 คน
       - เชิงคุณภาพ เช่น ผู้ปกครองร้องละ 80% สามารถเล่านิทานได้

5.วัน เวลา และสถานที่จัดสัมนา
         ระยะเวลาในการดำเนินงานโครงการ เป็นการระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ จนกระทั่งถึงเวลาสิ้นสุดโครงการ ว่าใช้เวลาทั้งหมดเท่าใด โดยแสดงให้เห็นจุดเริ่มต้น และสิ้นสุด ของโครงการโดยระบุ วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำและสิ้นสุด ถ้าหากเป็นโครงการระยะยาว และมีหลายระยะก็ต้องแสดงช่วงเวลาในแต่ละระยะของโครงการนั้นด้วยเพื่อใช้เป็นรายละเอียดประกอบการพิจารณาอนุมัติโครงการ เช่น วันจันทร์ ที่ 10 ตุลาคม 2559 เวลา 09.00 - 17.00 น. ณ โรงเรียนพิกุลเงิน

6.รูปแบบการจัดโครงการ เช่น การบรรยาย การอภิปราย เกมส์

7.แผนการดำเนินงาน
        เป็นขั้นตอนตามลำดับก่อน-หลัง เพื่อใช้ปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ วิธีการดำเนินการจึงนำวัตถุประสงค์มาจำแนกแจกแจงเป็นกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรม โดยจัดแสดงให้เห็นตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ ว่ามีกิจกรรมใดที่จะต้องทำให้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ จะนำไปอภิปรายโดยละเอียดในส่วนของการแผนการปฏิบัติงานหรือปฏิทินปฏิบัติงานอีกครั้งหนึ่ง แบ่งเป็น 4 หัวข้อย่อย

  1. การเตรียมงาน : P
  2. การดำเนินงาน : D
  3. การนิเทศติดตามผล : C
  4. การสรุปและประเมินผล : A

8.งบประมาณ แบ่งออกเป็น ค่าตอบแทน/ค่าใช้สอย/ค่าวัสดุอุปกรณ์

9.ผลที่คาดว่าจะได้รับ/ผลที่หวังว่าจะเกิดขึ้นหลังจากทำโครงการ ซึ่งจะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์

10.การติดตามและประเมินโครงการ
         ในส่วนนี้จะแสดงถึงการติดตาม การควบคุม การกำกับ และการประเมินผลโครงการ เพื่อให้โครงการบรรลุถึงวัตถุประงสงค์ที่ได้กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เสนอโครงการควรระบุวิธีการที่ใช้ในการควบคุม และประเมินผลโครงการไว้ให้ชัดเจน ทั้งนี้อาจจะต้องระบุบุคคลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการประเมินโครงการ พร้อมทั้งบอกรูปแบบการประเมินผลโครงการ

11.ผู้รับผิดชอบโครงการ

การประยุกต์ใช้

  • สามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดทำโครงงานได้
การประเมินผล

  • ประเมินตนเอง  ตั้งใจเรียนและจดบันทึก
  • ประเมินเพื่อน  ตั้งใจเรียนดี
  • ประเมินผู้สอน  มีตัวอย่างและอธิบายได้อย่างเข้าใจ

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่  9
วันที่   3  ตุลาคม   2559

ความรู้ที่ได้รับ

  • นำเสนองานวิจัยที่เกี่ยวกับการให้ความรู้ปกครอง

กลุ่มที่ 1 วิจัยเรื่อง  การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสำหรับผู้ปกครอง จังหวัดมหาสารคาม

กลุ่มที่ 2 วิจัยเรื่อง   การพัฒนาและประเมินการใช้โปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครองไทยในการส่งเสริมทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ โรงเรียนเซนต์แอนดรูส์สามัคคี มหาวิทยาลัยรังสิต

กลุ่มที่ 3 วิจัยเรื่อง  ความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

กลุ่มที่ 4 วิจัยเรื่อง  การศึกษาความสัมพันธ์คุณลักษณะผู้ปกครองกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง โรงเรียนกุ๊กไก่

งานวิจัยเรื่อง :  การพัฒนาและประเมินการใช้โปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครองไทย ในการส่งเสริมทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย ด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ โรงเรียนนานาชาติเซนต์แอดรูส์สามัคคี

การศึกษาระดับ ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

ปีที่ทำวิจัย ปีการศึกษา 2554

ผู้วิจัย คุณแสงวิไล จารุวาที

คลิ๊กเพื่อดู :  งานวิจัยฉบับเต็ม


ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย
  • ประเด็นที่ 1 ภาษาเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ใช้ในการติดต่อกัน เพื่อก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ แนวคิด และทัศนคติต่างๆ ภาษาเป็นสิ่งจาเป็นสาหรับมนุษย์ในการสื่อสารกับผู้อื่น 
  • ประเด็นที่ 2 ภาษาของมนุษย์ต้องเกิดจากการเรียนรู้ จากการศึกษาพัฒนาการทางภาษาของมนุษย์
  • ประเด็นที่ 3 ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถที่จะส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กขณะอยู่ที่บ้าน 
  • ประเด็นที่ 4 พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตขึ้นเป็นคนที่มีคุณภาพสมบูรณ์
  • ประเด็นที่ 5 การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองจะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้ เจตคติ และทักษะในการพัฒนาตน
  • ประเด็นที่ 6 พ่อแม่ผู้ปกครองชาวไทยส่วนใหญ่ผ่านการเรียนการสอนมาในวิธีที่แตกต่างกัน จึงยังขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ และไม่สามารถส่งเสริมให้เด็ก ฝึกการออกเสียง อักษรตามที่โรงเรียนสอนได้ ทำให้เด็กเกิดความสับสน
  • ประเด็นที่ 7 ผู้วิจัยต้องการพัฒนาโปรแกรมการการสอนภาษาแบบโฟนิกส์แก่ผู้ปกครองชาวไทย เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความ เข้าใจ และความสามารถที่จะส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กขณะอยู่ที่บ้าน 
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 

  • 1.เพื่อพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไทยเรื่องการส่งเสริมทักษะทางการอ่าน ออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ ในเรื่องเสียงอักษร (Letter Sounds) ทักษะการผสมเสียงให้เป็นคำ(Blending Skills) และทักษะการแยกเสียงในคำ(Segmenting Skills)
  • 2.เพื่อประเมินการใช้โปรแกรมการส่งเสริมทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ของผู้ปกครองไทย โรงเรียนนานาชาติเซ นต์แอนดรูส์ สามัคคี 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  • 1.เพื่อส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ และแผนการดำเนินการใช้โปรแกรมที่ได้ จากการวิจัยนี้ โรงเรียนสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย ให้สอดคล้องไปกับการ เรียนการสอนของทางโรงเรียน 
  • 2.เพื่อส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษ ของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมในโรงเรียนที่มีลักษณะและแนวการเรียนการสอนคล้ายคลึงกัน โดยดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพและความพร้อม ของโรงเรียนนั้นๆ 
  • 3.ช่วยให้ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการมีบทบาททางการส่งเสริมทักษะทางการอ่าน ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย 

ขอบเขตของการศึกษาวิจัย

  • 1.กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปกครองชาวไทยของนักเรียนปฐมวัยอายุ 5-6 ปีที่ กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น Year 1 (เทียบเท่าชั้นอนุบาล 3 ในระบบการศึกษาไทย) ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์สามัคคี จังหวัดนนทบุรี ผู้วิจัยใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ เจาะจง ได้จำนวน 11 คน คือ

1.1 มีลูกศึกษาในโรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์สามัคคี มาแล้วไม่น้อยกว่า1ปี
1.2 มีภาษาไทยเป็นภาษาแม่
1.3 สามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

  • 2.เนื้อหาของโปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไทยเรื่องการส่งเสริมทักษะทางการอ่าน ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์
  • 3.ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 9 สัปดาห์ แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้ 

ขั้นที่ 1 การทดสอบความสามารถทางโฟนิกส์ของเด็กปฐมวัย
ขั้นที่ 2 การประชุมให้ความรู้ผู้ปกครองไทยที่เข้าร่วมการวิจัย เรื่องการ สอนภาษาแบบโฟนิกส์
ขั้นที่ 3 การปฏิบัติการใช้กิจกรรมส่งเสริมสำหรับฝึกและพัฒนาทักษะของเด็กปฐมวัย
ขั้นที่ 4 การทดสอบความสามารถทางโฟนิกส์ ด้วยการฟังเสียงอักษร การผสมเสียง การแยกแยะเสียง และการถอดรหัสเสียงอักษรในคำ
ขั้นที่ 5 และประเมิน ผลการปฏิบัติตาม โปรแกรมการส่งเสริมทักษะทาง โฟนิกส์โดย ผู้ปกครองไทยโดยการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง)

  • 4.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 

4.1 โปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไทยโดยการประชุมปฏิบัติการเรื่องการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาแบบโฟนิกส์ด้วยกิจกรรมส่งเสริมสำหรับฝึกและพัฒนาทักษะ
4.2 แบบทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์สำหรับเด็กปฐมวัย
4.3 แบบสัมภาษณ์ประเมินการใช้โปรแกรมของผู้ปกครองชาวไทย

วิธีดำเนินการวิจัย

  • ประชากร 

เด็กปฐมวัยอายุ 5–6 ปี ที่กำลังศึกษา อยู่ในระดับชั้น Year 1 (ซึ่งเทียบเท่าระดับชั้นอนุบาล 3 ในระบบการศึกษาไทย) โรงเรียนนานาชาติ เซนต์แอนดรูส์ สามัคคีปีการศึกษา 2553จำนวนทั้งสิ้น 14 คน


  • กลุ่มตัวอย่าง

ผู้วิจัยใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 11 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

  • โปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไทยเรื่องการส่งเสริมทักษะทางการอ่าน ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์
  • แบบทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์สำหรับเด็กปฐมวัย 
  • แบบสัมภาษณ์ประเมินการใช้โปรแกรมของผู้ปกครองชาวไทย
การดำเนินการวิจัย
           ผู้วิจัยใช้ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งสิ้น 9 สัปดาห์

การวิเคราะห์ข้อมูล
           การวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอในรูปตารางสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และ นำเสนอในรูปการบรรยายแบบความเรียงสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ

สรุปผลการวิจัย
     - วัตถุประสงค์ที่1
เพื่อพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครองไทยเรื่องการส่งเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย ด้วยการสอนแบบภาษาโฟนิกส์ ในเรื่องเสียงอักษร ทักษะผสมเสียงให้เป็นคำ และทักษะการแยกเสียงในคำ
     - วัตถุประสงค์ที่2
เพื่อประเมินการใช้โปรแกรมส่งเสริมทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนแบบโฟนิกส์ของผู้ปกครองไทย โรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์สามัคคี ผลจากการเปรียบเทียบความสามารถทางภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ของเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมโปรแกรมด้วยการทดสอบก่อน และหลังการทดลอง พบว่าหลังการเข้าร่วมโปรแกรม ความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยสูงขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้ปกครองส่วนใหญ่ดำเนินการตามทุกขั้นตอนที่กำหนดไว้ในโปรแกรมอย่างครบถ้วน เมื่อดำเนินการครบแล้วได้หาคำศัพท์นอกเหนือจากที่กำหนดมาให้เด็ได้ฝึกฝนเพิ่มเติม

ข้อเสนอแนะ

          ควรนำผลการวิจัยไปศึกษาในโรงเรียนที่มีบริบทต่างกันแต่ใช้การเรียนการสอนแบบโฟนิกส์เช่นเดียวกัน เช่น โรงเรียนสองภาษา โรงเรียนนานาชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นต้น เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมและกว้างขวางต่อไป

การประยุกต์ใช้

  • สามารถนำแนวทางการทำวิจัยไปปรับปรุงใช้ในการเรียนการสอนหรือการทำวิจัยในอนาคตได้
การประเมินผล

  • ประเมินตนเอง  ให้ความร่วมมือและช่วยเพื่อนทำงานนำเสนอ
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆมีความรู้ความเข้าใจ
  • ประเมินผู้สอน  ผู้สอนให้คำแนะนำดี