จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่  9
วันที่   3  ตุลาคม   2559

ความรู้ที่ได้รับ

  • นำเสนองานวิจัยที่เกี่ยวกับการให้ความรู้ปกครอง

กลุ่มที่ 1 วิจัยเรื่อง  การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสำหรับผู้ปกครอง จังหวัดมหาสารคาม

กลุ่มที่ 2 วิจัยเรื่อง   การพัฒนาและประเมินการใช้โปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครองไทยในการส่งเสริมทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ โรงเรียนเซนต์แอนดรูส์สามัคคี มหาวิทยาลัยรังสิต

กลุ่มที่ 3 วิจัยเรื่อง  ความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

กลุ่มที่ 4 วิจัยเรื่อง  การศึกษาความสัมพันธ์คุณลักษณะผู้ปกครองกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง โรงเรียนกุ๊กไก่

งานวิจัยเรื่อง :  การพัฒนาและประเมินการใช้โปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครองไทย ในการส่งเสริมทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย ด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ โรงเรียนนานาชาติเซนต์แอดรูส์สามัคคี

การศึกษาระดับ ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

ปีที่ทำวิจัย ปีการศึกษา 2554

ผู้วิจัย คุณแสงวิไล จารุวาที

คลิ๊กเพื่อดู :  งานวิจัยฉบับเต็ม


ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย
  • ประเด็นที่ 1 ภาษาเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ใช้ในการติดต่อกัน เพื่อก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ แนวคิด และทัศนคติต่างๆ ภาษาเป็นสิ่งจาเป็นสาหรับมนุษย์ในการสื่อสารกับผู้อื่น 
  • ประเด็นที่ 2 ภาษาของมนุษย์ต้องเกิดจากการเรียนรู้ จากการศึกษาพัฒนาการทางภาษาของมนุษย์
  • ประเด็นที่ 3 ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถที่จะส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กขณะอยู่ที่บ้าน 
  • ประเด็นที่ 4 พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตขึ้นเป็นคนที่มีคุณภาพสมบูรณ์
  • ประเด็นที่ 5 การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองจะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้ เจตคติ และทักษะในการพัฒนาตน
  • ประเด็นที่ 6 พ่อแม่ผู้ปกครองชาวไทยส่วนใหญ่ผ่านการเรียนการสอนมาในวิธีที่แตกต่างกัน จึงยังขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ และไม่สามารถส่งเสริมให้เด็ก ฝึกการออกเสียง อักษรตามที่โรงเรียนสอนได้ ทำให้เด็กเกิดความสับสน
  • ประเด็นที่ 7 ผู้วิจัยต้องการพัฒนาโปรแกรมการการสอนภาษาแบบโฟนิกส์แก่ผู้ปกครองชาวไทย เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความ เข้าใจ และความสามารถที่จะส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กขณะอยู่ที่บ้าน 
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 

  • 1.เพื่อพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไทยเรื่องการส่งเสริมทักษะทางการอ่าน ออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ ในเรื่องเสียงอักษร (Letter Sounds) ทักษะการผสมเสียงให้เป็นคำ(Blending Skills) และทักษะการแยกเสียงในคำ(Segmenting Skills)
  • 2.เพื่อประเมินการใช้โปรแกรมการส่งเสริมทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ของผู้ปกครองไทย โรงเรียนนานาชาติเซ นต์แอนดรูส์ สามัคคี 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  • 1.เพื่อส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ และแผนการดำเนินการใช้โปรแกรมที่ได้ จากการวิจัยนี้ โรงเรียนสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย ให้สอดคล้องไปกับการ เรียนการสอนของทางโรงเรียน 
  • 2.เพื่อส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษ ของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมในโรงเรียนที่มีลักษณะและแนวการเรียนการสอนคล้ายคลึงกัน โดยดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพและความพร้อม ของโรงเรียนนั้นๆ 
  • 3.ช่วยให้ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการมีบทบาททางการส่งเสริมทักษะทางการอ่าน ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย 

ขอบเขตของการศึกษาวิจัย

  • 1.กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปกครองชาวไทยของนักเรียนปฐมวัยอายุ 5-6 ปีที่ กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น Year 1 (เทียบเท่าชั้นอนุบาล 3 ในระบบการศึกษาไทย) ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์สามัคคี จังหวัดนนทบุรี ผู้วิจัยใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ เจาะจง ได้จำนวน 11 คน คือ

1.1 มีลูกศึกษาในโรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์สามัคคี มาแล้วไม่น้อยกว่า1ปี
1.2 มีภาษาไทยเป็นภาษาแม่
1.3 สามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

  • 2.เนื้อหาของโปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไทยเรื่องการส่งเสริมทักษะทางการอ่าน ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์
  • 3.ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 9 สัปดาห์ แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้ 

ขั้นที่ 1 การทดสอบความสามารถทางโฟนิกส์ของเด็กปฐมวัย
ขั้นที่ 2 การประชุมให้ความรู้ผู้ปกครองไทยที่เข้าร่วมการวิจัย เรื่องการ สอนภาษาแบบโฟนิกส์
ขั้นที่ 3 การปฏิบัติการใช้กิจกรรมส่งเสริมสำหรับฝึกและพัฒนาทักษะของเด็กปฐมวัย
ขั้นที่ 4 การทดสอบความสามารถทางโฟนิกส์ ด้วยการฟังเสียงอักษร การผสมเสียง การแยกแยะเสียง และการถอดรหัสเสียงอักษรในคำ
ขั้นที่ 5 และประเมิน ผลการปฏิบัติตาม โปรแกรมการส่งเสริมทักษะทาง โฟนิกส์โดย ผู้ปกครองไทยโดยการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง)

  • 4.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 

4.1 โปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไทยโดยการประชุมปฏิบัติการเรื่องการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาแบบโฟนิกส์ด้วยกิจกรรมส่งเสริมสำหรับฝึกและพัฒนาทักษะ
4.2 แบบทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์สำหรับเด็กปฐมวัย
4.3 แบบสัมภาษณ์ประเมินการใช้โปรแกรมของผู้ปกครองชาวไทย

วิธีดำเนินการวิจัย

  • ประชากร 

เด็กปฐมวัยอายุ 5–6 ปี ที่กำลังศึกษา อยู่ในระดับชั้น Year 1 (ซึ่งเทียบเท่าระดับชั้นอนุบาล 3 ในระบบการศึกษาไทย) โรงเรียนนานาชาติ เซนต์แอนดรูส์ สามัคคีปีการศึกษา 2553จำนวนทั้งสิ้น 14 คน


  • กลุ่มตัวอย่าง

ผู้วิจัยใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 11 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

  • โปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไทยเรื่องการส่งเสริมทักษะทางการอ่าน ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์
  • แบบทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์สำหรับเด็กปฐมวัย 
  • แบบสัมภาษณ์ประเมินการใช้โปรแกรมของผู้ปกครองชาวไทย
การดำเนินการวิจัย
           ผู้วิจัยใช้ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งสิ้น 9 สัปดาห์

การวิเคราะห์ข้อมูล
           การวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอในรูปตารางสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และ นำเสนอในรูปการบรรยายแบบความเรียงสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ

สรุปผลการวิจัย
     - วัตถุประสงค์ที่1
เพื่อพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครองไทยเรื่องการส่งเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย ด้วยการสอนแบบภาษาโฟนิกส์ ในเรื่องเสียงอักษร ทักษะผสมเสียงให้เป็นคำ และทักษะการแยกเสียงในคำ
     - วัตถุประสงค์ที่2
เพื่อประเมินการใช้โปรแกรมส่งเสริมทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนแบบโฟนิกส์ของผู้ปกครองไทย โรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์สามัคคี ผลจากการเปรียบเทียบความสามารถทางภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ของเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมโปรแกรมด้วยการทดสอบก่อน และหลังการทดลอง พบว่าหลังการเข้าร่วมโปรแกรม ความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยสูงขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้ปกครองส่วนใหญ่ดำเนินการตามทุกขั้นตอนที่กำหนดไว้ในโปรแกรมอย่างครบถ้วน เมื่อดำเนินการครบแล้วได้หาคำศัพท์นอกเหนือจากที่กำหนดมาให้เด็ได้ฝึกฝนเพิ่มเติม

ข้อเสนอแนะ

          ควรนำผลการวิจัยไปศึกษาในโรงเรียนที่มีบริบทต่างกันแต่ใช้การเรียนการสอนแบบโฟนิกส์เช่นเดียวกัน เช่น โรงเรียนสองภาษา โรงเรียนนานาชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นต้น เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมและกว้างขวางต่อไป

การประยุกต์ใช้

  • สามารถนำแนวทางการทำวิจัยไปปรับปรุงใช้ในการเรียนการสอนหรือการทำวิจัยในอนาคตได้
การประเมินผล

  • ประเมินตนเอง  ให้ความร่วมมือและช่วยเพื่อนทำงานนำเสนอ
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆมีความรู้ความเข้าใจ
  • ประเมินผู้สอน  ผู้สอนให้คำแนะนำดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น