จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่  10
วันที่   10   ตุลาคม   2559

ความรู้ที่ได้รับ
  • การเขียนโครงการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
ส่วนประกอบการเขียนโครงการ มีดังนี้

1.ชื่อโครงการ
           การตั้งชื่อโครงการต้องมีความชัดเจน เหมาะสม และเฉพาะเจาะจง เป็นที่เข้าใจได้โดยง่ายสำหรับผู้นำโครงการไปใช้หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ชื่อโครงการจะบอกให้ทราบว่า จะทำสิ่งใดบ้าง โครงการที่จัดทำขึ้นนั้น ทำเพื่ออะไร ชื่อโครงการโดยทั่วไปควรจะต้องแสดงลักษณะ งานที่ต้องปฏิบัติ ลักษณะเฉพาะของโครงการ และจุดมุ่งหมายของโครงการ

2.วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
          โครงการทุกโครงการจำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเป็นเครื่องชี้แนวทางในการดำเนินงานของโครงการ โดยวัตถุประสงค์จะเป็นข้อความแสดงถึงความต้องการที่จะจัดทำสิ่งต่างๆภายในโครงการให้ปรากฏผลเป็นรูปธรรม ซึ่งข้อความที่ใช้เขียนวัตถุประสงค์จะต้องชัดเจน ไม่คลุมเครือ สามารถวัดและประเมินผลได้ โครงการแต่ละโครงการสามารถมีวัตถุประสงค์มากกว่า 1 ข้อ

3.เนื้อหา/หลักสูตร
          เป็นเนื้อหาการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดกิจกรรม ความรู้ต่างๆที่จัดให้ผู้ปกครองได้รับ อาจเป็นความรู้ที่สามารถอ้างอิงได้

4.เป้าหมาย มี 2 แบบ
       - เชิงปริมาณ เช่น ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 อายุ 3-5 ปี โรงเรียนพิกุลเงิน จำนวน 20 คน
       - เชิงคุณภาพ เช่น ผู้ปกครองร้องละ 80% สามารถเล่านิทานได้

5.วัน เวลา และสถานที่จัดสัมนา
         ระยะเวลาในการดำเนินงานโครงการ เป็นการระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ จนกระทั่งถึงเวลาสิ้นสุดโครงการ ว่าใช้เวลาทั้งหมดเท่าใด โดยแสดงให้เห็นจุดเริ่มต้น และสิ้นสุด ของโครงการโดยระบุ วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำและสิ้นสุด ถ้าหากเป็นโครงการระยะยาว และมีหลายระยะก็ต้องแสดงช่วงเวลาในแต่ละระยะของโครงการนั้นด้วยเพื่อใช้เป็นรายละเอียดประกอบการพิจารณาอนุมัติโครงการ เช่น วันจันทร์ ที่ 10 ตุลาคม 2559 เวลา 09.00 - 17.00 น. ณ โรงเรียนพิกุลเงิน

6.รูปแบบการจัดโครงการ เช่น การบรรยาย การอภิปราย เกมส์

7.แผนการดำเนินงาน
        เป็นขั้นตอนตามลำดับก่อน-หลัง เพื่อใช้ปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ วิธีการดำเนินการจึงนำวัตถุประสงค์มาจำแนกแจกแจงเป็นกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรม โดยจัดแสดงให้เห็นตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ ว่ามีกิจกรรมใดที่จะต้องทำให้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ จะนำไปอภิปรายโดยละเอียดในส่วนของการแผนการปฏิบัติงานหรือปฏิทินปฏิบัติงานอีกครั้งหนึ่ง แบ่งเป็น 4 หัวข้อย่อย

  1. การเตรียมงาน : P
  2. การดำเนินงาน : D
  3. การนิเทศติดตามผล : C
  4. การสรุปและประเมินผล : A

8.งบประมาณ แบ่งออกเป็น ค่าตอบแทน/ค่าใช้สอย/ค่าวัสดุอุปกรณ์

9.ผลที่คาดว่าจะได้รับ/ผลที่หวังว่าจะเกิดขึ้นหลังจากทำโครงการ ซึ่งจะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์

10.การติดตามและประเมินโครงการ
         ในส่วนนี้จะแสดงถึงการติดตาม การควบคุม การกำกับ และการประเมินผลโครงการ เพื่อให้โครงการบรรลุถึงวัตถุประงสงค์ที่ได้กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เสนอโครงการควรระบุวิธีการที่ใช้ในการควบคุม และประเมินผลโครงการไว้ให้ชัดเจน ทั้งนี้อาจจะต้องระบุบุคคลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการประเมินโครงการ พร้อมทั้งบอกรูปแบบการประเมินผลโครงการ

11.ผู้รับผิดชอบโครงการ

การประยุกต์ใช้

  • สามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดทำโครงงานได้
การประเมินผล

  • ประเมินตนเอง  ตั้งใจเรียนและจดบันทึก
  • ประเมินเพื่อน  ตั้งใจเรียนดี
  • ประเมินผู้สอน  มีตัวอย่างและอธิบายได้อย่างเข้าใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น