จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่  8
วันที่   26  กันยายน  2559

***สอบกลางภาค***

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่  7
วันที่   19  กันยายน   2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในสถานศึกษา 
          สถานศึกษาปฐมวัยจะต้องทำหน้าที่และร่วมกันรณรงค์เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาและการมีส่วนร่วมกับการศึกษาปฐมวัย โดยจะต้องพัฒนาทั้งความรู้และทักษะ เพื่อนำไปใช้กับเด็กอย่างถูกวิธี
  • รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน
ข่าวสารประจำสัปดาห์
           เป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงผู้ปกครองเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน ข้อมูลประจำสัปดาห์ประกอบไปด้วย
  1. รายละเอียดของสาระการเรียนรู้  ประสบการณ์และกิจกรรมที่สถานศึกษาวางแผนไว้ประจำสัปดาห์
  2. พัฒนาการและการเรียนรู้ที่เด็กได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม
  3. กิจกรรมครอบครัว เป็นกิจกรรมที่พ่อแม่ ร่วมทำกับเด็กโดยในข่าวสารจะเสนอแนะกิจกรรมต่างๆ เช่น ประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็ก เกม วาดภาพระบายสี เพลงคำคล้องจอง ปริศนาคำทาย ฯลฯ
  4. เรื่องน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง เป็นการให้ข้อมูลความรู้เพื่อนำไปอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการเด็กหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็ก
  5. ข้อเสนอแนะของผู้ปกครอง เป็นการให้ผู้ปกครองแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการสนับสนุนและพัฒนาเด็กให้ดียิ่งขึ้น
จดหมายข่าวและกิจกรรม
            เป็นการนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้ปกครอง ในชั้นเรียนให้รับรู้ถึงข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก โดยจัดส่งให้ผู้ปกครองในทุกสัปดาห์หรือตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่นำเสนอในจดหมายข่าวและกิจกรรมอาจจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังนี้
  1. ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็กและผู้ปกครอง
  2. กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับผู้ปกครอง เช่น นิทาน ศิลปะ ภาษา ฯลฯ
  3. ความรู้สำหรับผู้ปกครอง ฯลฯ
การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
           เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เกิดจากความต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี ด้วยการให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นผู้เลี้ยงดูที่มีคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ
  1. วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
  2. วิธีการสนทนากลุ่ม
  3. วิธีอภิปรายกลุ่ม
  4. วิธีการบรรยาย 
โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
          ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ประกอบด้วย
  1. แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
  2. คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
  3. หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
  4. ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
  5. จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”

ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง 
          จัดเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถจัดได้บริเวณหน้าชั้นเรียนของทุกห้องเรียน โดยนำข้อมูลความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครอง จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่น
  1. ข้อมูลจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร
  2. เกร็ดความรู้หรือสาระน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง
  3. ภาพถ่ายกิจกรรมในชั้นเรียน
  4. ผลงานแห่งความภาคภูมิใจ
  5. กิจกรรมในโอกาสพิเศษ เช่น ทัศนศึกษา การแสดงในวันปีใหม่ ฯลฯ



การสนทนา 
           การสนาเป็นรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึงและตรงมากที่สุด การสนทนาเป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อผู้ปกครอง และช่วยในการให้ความรู้ผู้ปกครองเป็นไปได้อย่างราบรื่น โดยมีวัตถุประสงค์ในการสนทนาดังนี้
  1. เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้มีโอกาสพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเด็ก
  2. เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียน
  3. เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กขณะที่อยู่ที่โรงเรียนและที่บ้าน
  • รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษา 
ห้องสมุดผู้ปกครอง
            เป็นสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารต่างๆ อันเป็นแหล่งเรียนรู้ อีกรูปแบบหนึ่งของการให้บริการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของสถานศึกษา การอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การจัดการศึกษา ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันและส่งผลต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

ป้ายนิเทศ
            ป้ายนิเทศในลักษณะนี้เป็นป้ายที่จัดเพื่อให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครองทั้งสถานศึกษา ลักษณะของป้ายประกอบด้วย ภาพ ตัวอักษร ของจริง แผนภูมิ สถิติ ฯลฯ ป้ายนิเทศจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ดังนี้
  1. ข้อมูลการดำเนินงานของโรงเรียน เช่น ปรัชญา นโยบาย วัตถุประสงค์ ฯล
  2. ข่าวสารประจำวันจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ฯลฯ
  3. ข่าวของสถานศึกษา เช่น การประชุม สัมมนา กิจกรรมต่างๆ
  4. ประกาศต่างๆ ของทางโรงเรียน เช่น วันหยุด นัดประชุมฯลฯ
  5. ข่าวสารบริการต่างๆ เช่น แนะนำสถานศึกษา ข้อมูลกิจกรรมของเด็ก
  6. กิจกรรมของสถานศึกษา เช่น กิจกรรมวันครู วันพ่อ วันแม่ ฯลฯ
  7. ป้ายสำหรับผู้ปกครองในการแสดงความคิดเห็น
            โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองดังกล่าวเป็นรูปแบบของการพัฒนาศักยภาพของผู้ปกครองให้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดู และส่งเสริมพัฒนาการตลอดจนการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก
           สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้จัดทำแผนงานพัฒนาพ่อแม่ ผู้ปกครอง สมาชิกในครอบครัวและผู้ที่เตรียมตัวเป็นพ่อแม่ ดังนี้
  1. สถานศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาชนทั่วไปให้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
  2. จัดบริการเสริมความรู้ ความเข้าใจ ฝึกทักษะให้พ่อแม่ ครอบครัว คู่สมรสมีความเข้าใจในวิธีเลี้ยงดูเด็ก
  3. ส่งเสริมให้องค์กรของรัฐ เอกชน ท้องถิ่นจัดฝึกอบรมให้แก่พ่อแม่ คู่สมรสใหม่และผู้ปกครอง
  4. สนับสนุนโครงการต่างๆ ที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
  5. จัดให้มีวิธีการประเมินผลการพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง 
นิทรรศการ
           เป็นรูปแบบที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษาให้แก่ผู้ปกครองได้อย่างกว้างขวางรูปแบบหนึ่งด้วยการใช่สื่อหรืออุปกรณ์หลายชนิดในการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเช่น ภาพเขียน ภาพถ่าย สถิติ หุ่น ผลงานเด็ก ภาพยนตร์ วีดีโอและซีดีซึ่งมีรูปแบบของนิทรรศการที่สามารถจัดได้ในสถานศึกษาดังนี้

  1. นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
  2. นิทรรศการเพื่อให้ความรู้
  3. นิทรรศการเพื่อความบันเทิง 

มุมผู้ปกครอง 
           เป็นบริเวณที่สถานศึกษาจัดให้บริการแก่ผู้ปกครองในระหว่างการเยี่ยมชมโรงเรียน การรอรับ-ส่งเด็ก หรือพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้ปกครองหรือครู เป้าหมายสำคัญของการจัดมุมผู้ปกครองคือ
  1. เพื่อให้ผู้ปกครองได้ใช้เวลาว่างระหว่างการรอรับ-ส่งเด็ก ให้เกิดประโยชน์ด้วยการอ่านหนังสือ ฯลฯ
  2. เป็นบริเวณที่ให้ผู้ปกครองได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้ปกครองด้วยกัน
  3. เพื่อผู้ปกครองและเด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกันตามความเหมาะสมในระยะเวลาสั้นๆ เช่น อ่านหนังสือ ดูภาพกิจกรรมของเด็ก ชมผลงานเด็ก ฯลฯ

การประชุม 
           เป็นกิจกรรมหลักของสถานศึกษาที่สามารถใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานของถานศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย จุดประสงค์ของการจัดประชุมผู้ปกครองมีดังนี้
  1. เพื่อแถลงนโยบายการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
  2. แลกเปลี่ยนทัศนคติระหว่าสถานศึกษากับผู้ปกครอง
  3. แจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงาน
  4. ประสานงานและทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง
  5. สร้างความสามัคคีระหว่างผู้ปกครองกับครู
  6. พัฒนาความรู้ความเข้าใจกับผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การจัดการศึกษา ฯลฯ
จุลสาร
           เป็นลักษณะของสิ่งพิมพ์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในทุกๆ ด้าน ให้แก่ผู้ปกครองได้รับทราบความเคลื่อนไหวและเพื่อประชาสัมพันธ์ เนื้อหาในจุลสารจะประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนของบรรณาธิการ เรื่องราวของเด็กๆ บทความรู้ และเบ็ดเตล็ด การจัดทำจุลสารเพื่อให้มีความน่าสนใจ โดยพิจารณาดังนี้
  1. เนื้อหาความรู้ที่นำเสนอ 
  2. จัดทำรูปเล่มให้น่าสนใจ
  3. ภาพประกอบมีสีสันสวยงาม 
  4. ภาษาไม่ควรจะเป็นวิชาการมากเกินไป
  5. ควรมีคอลัมน์สำหรับผู้ปกครอง

คู่มือผู้ปกครอง  
            เป็นเอกสารที่ให้ความรู้ผู้ปกครองได้รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา โดยจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเหมือนหนังสือทั่วไป ข้อมูลในคู่มือผู้ปกครองประกอบไปด้วย
  1. ปรัชญาและเป้าหมายของสถานศึกษา
  2. หลักสูตรและการจัดประสบการณ์
  3. บุคลากรเพื่อแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถ
  4. อาคาร สถานที่ สภาพแวดล้อม
  5. การจัดบริการและสวัสดิการต่างๆ
  6. กฎ ระเบียบ และแนวปฏิบัติ สำหรับผู้ปกครองได้ทราบโดยทั่วกัน
  7. การวัดและประเมินผล

ระบบอินเทอร์เน็ต
          เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ใช้เพื่อการเรียนการสอน และเวิลด์ไวด์เวป (WWW.) การใช้อินเทอร์เน็ตในการให้ความรู้ผู้ปกครองนับเป็นบริการด้านหนึ่งที่สถานศึกษาสามารถจัดทำในรูปแบบ เวิลด์ไวด์เวป บริการให้ความรู้ผู้ปกครองผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่สถานศึกษาบรรจุลงในเว็บไซด์ สามารถให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับ
  1. ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษา 
  2. เครือข่ายสถานศึกษาที่เกี่ยวข้อง
  3. สาระความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับเด็ก 
  4. กิจกรรมสำหรับผู้ปกครองและเด็ก
  5. กิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข่าวสาร ข้อมูล
  6. คำถามของผู้ปกครอง 
  • สรุป   
          รูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองดังกล่าว สถานศึกษาสามารถจัดให้บริการแก่ผู้ปกครอง โดยมีข้อคิดที่สำคัญคือการคิดหาสื่อและช่องทางที่จะทำให้ความรู้ต่างๆ ถึงผู้ปกครองอย่างถั่วถึง รวดเร็ว และมีการตอบกลับ เพื่อให้สถานศึกษาได้รับรู้ว่าผู้ปกครองตระหนักถึงบทบาทของตนเองต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและทำให้การศึกษาระหว่างบ้านและสถานศึกษามีความเข้าใจที่ตรงกัน ทำให้การศึกษาเกิดแนวคิดต่อการพัฒนารูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพมากสูงสุด
  • คำถามท้ายบท
        1. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน ครูประจำชั้นควรพิจารณาในการเลือกใช้รูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ
            ข่าวสารประจำสัปดาห์  เพราะเป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงผู้ปกครองเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน
           จดหมายข่าวและกิจกรรม เพราะเป็นการนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้ปกครอง ในชั้นเรียนให้รับรู้ถึงข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก โดยจัดส่งให้ผู้ปกครองในทุกสัปดาห์หรือตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ
           การสนทนา เพราะเป็นรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึงและตรงมากที่สุด การสนทนาเป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อผู้ปกครอง และช่วยในการให้ความรู้ผู้ปกครองเป็นไปได้อย่างราบรื่น

       2. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษามีรูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ  แบบจุลสาร  เป็นลักษณะของสิ่งพิมพ์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในทุกๆ ด้าน ให้แก่ผู้ปกครองได้รับทราบความเคลื่อนไหวและเพื่อประชาสัมพันธ์ เนื้อหาในจุลสารจะประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนของบรรณาธิการ เรื่องราวของเด็กๆ บทความรู้ และเบ็ดเตล็ด การจัดทำจุลสารเพื่อให้มีความน่าสนใจ โดยพิจารณาดังนี้
  1. เนื้อหาความรู้ที่นำเสนอ 
  2. จัดทำรูปเล่มให้น่าสนใจ
  3. ภาพประกอบมีสีสันสวยงาม 
  4. ภาษาไม่ควรจะเป็นวิชาการมากเกินไป
  5. ควรมีคอลัมน์สำหรับผู้ปกครอง
       3. นักศึกษามีวิธีการหรือแนวทางแก้ปัญหาผู้ปกครองที่ไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง จงอธิบาย
ตอบ  แนวทางการแก้ปัญหาคือจัดกิจกรรมที่น่าสนใจไม่หน้าเบื่อ  ไม่วิชาการจนเกินไปหรืออาจมีของรางวัลให้ขณะร่วมกิจกรรม

      4. การจัดกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ   การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญที่มีต่อการศึกษาเด็กปฐมวัย เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก  ให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน   เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง เพื่อเด็กจะเติมโตไปในสังคมได้อย่างสมบูรณ์

     5. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะของรูปแบบอย่างไร จงอธิบายพร้อมแสดงความคิดเห็น
ตอบ
  1. วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม  :  ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม
  2. วิธีการสนทนากลุ่ม  :  เป็นการสนทนากันบรรยากาศเป็นกันเอง
  3. วิธีอภิปรายกลุ่ม  :  ทำให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและมีส่วนร่วมในการทำข้อมูล
  4. วิธีการบรรยาย  :  เป็นวิธีที่เป็นทางการเนื้อหาละเอียด
การประยุกต์ใช้
  • สามารถนำเอาความรู้ไปประยุกต์ในการให้ความรู้ผู้ปกครองในอนาคตได้
การประเมินผล
  • ประเมินตนเอง  มีความเข้าใจใบบทเรียนสามารถออกไปตอบคำถามและนำเสนอตัวอย่างการให้ความรู้ผู้ปกครองได้  ได้ดาวเด็กดี  1  ดวง
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนตั้งใจทำงานดีแต่อาจมีเสียงไปบ้างเนื่องจากเป็นการเรียนรวมกัน  2 เซค
  • ประเมินผู้สอน  ผู้สอนอธิบายได้อย่างเข้าใจและให้คำปรึกษาเมื่อไม่เข้าใจ  มีตัวอย่างมาให้ชมอย่างหลากหลาย

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่  6 
วันที่   12  กันยายน  2559

***ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดงานราชการ***

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่  5
วันที่   5  กันยายน  2559

ความรู้ที่ได้รับ
  • ชมวีโอเกี่ยวกับโครงการหนังสือเล่มแรกของประเทศไทย
  • โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ
โครงการการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย
  • 1.โครงการแม่สอนลูก
  1. กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ 
  2. จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน 
  3. ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิดและเรียนรู้ 
  4. ใช้รูปแบบการทดองสอนแม่เพื่อสอนลูกที่บ้าน 
  5. อาศัยรูปแบบโครงการการเยี่ยมบ้านของประเทศอิสราเอล 
  6. เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้ เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก 
  • 2.โครงการ แม่สอนลูก
  1. ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.อุบลราชธานี 
  2. ให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน 
  3. ได้นำแนวทางของโปรงแกรม Hippy Program ของประเทศอิสราเอล 
  4. เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน 
  5. แม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น ภาษา การพัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา 
  6. มีการบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก 
  • 3.การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
  1. เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 
  2. ต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี 
  3. ใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ 
               วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
               วิธีการสนทนากลุ่ม
               วิธีอภิปรายกลุ่ม
               วิธีการบรรยาย
  • 4.โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
  1. โดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต 
  2. เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย 
  3. ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ 
  4. แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่ 
  5. คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ 
  6. หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์ 
  7. ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์” 
  8. จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์” 
  • 5.โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว “บ้านล้อมรัก”สำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยา เสพติด 
  1. อยู่ภายใต้คำขวัญ “พลังครอบครัวไทย ชนะภัยยาเสพติด” 
  2. สร้างความเข้าใจบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน 
  3. เพื่อให้ปลอดภัยและห่างไกลจากยาเสพติด 
  4. โดยมีวิธีการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน 4 ช่องทางคือ 
  5. ผ่านโทรทัศน์ในรูปแบบสารคดีและแทรกในรายการโทรทัศน์ 
  6. ผ่านสื่อวิทยุในรูปแบบสารคดีสั้น สปอตประชาสัมพันธ์ กิจกรรม และสัมภาษณ์ 
  7. สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ จดหมายข่าว โปสเตอร์ สติกเกอร์ เสื้อยืด เป็นต้น 
  8. กิจกรรมส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เช่น เกม กีฬา เป็นต้น 
  • 6.โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart Thailand)
  1. โครงการหนังสือเล่มแรก เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 
  2. โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก 
  3. ซึ่งในปีนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นปีแห่งการอ่าน 
  4. ส่วนภาคเอกชนเริ่มดำเนินโครงการ “รวมพลัง รักการอ่าน” ขึ้นในปีนี้เช่นเดียวกัน 
  5. โดยมีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ 
  6. สร้างพื้นฐานการอ่านและสานสัมพันธ์ในครอบครัว 
  7. ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่าน 
  8. ประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กรท้องถิ่นในการรณรงค์โครงการ 
  9. ทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ 
  • 7.โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัวโดยกรมการพัฒนาชุมชน กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมอนามัย สำนักงานปรัดกระทรวงสาธารณสุข และอีกหลายหน่วยงาน 
  1. วัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้พ่อแม่สมาชิกในครอบครัวเยาวชนในท้องถิ่น 
  2. เลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโต มีพัฒนาการตามวัยต่อเนื่องสอดคล้องกับวิถีชีวิตครอบครัวและสังคมของเด็ก โดยมีกิจกรรมดังนี้ 
  3. การเตรียมชุมชน แก่การให้ความรู้แก่อาสาสมัคร แล้วไปถ่ายทอดให้แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง 
  4. จัดกลุ่มสนทนาให้แก่เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง สนทนาเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การผลิตของเล่นสำหรับเด็ก การเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดี เป็นต้น 
  5. จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีความรู้และทักษะในการเลี้ยงดูเด็กเพื่อเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดีต่อไป 
  • 8.โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัวโดยกองสูตินารีเวชกรรม รพ.พระมงกุฎเกล้า 
  1. เปิดบริการให้เตรียมความพร้อมแก่คู่สมรสที่กำลังเตรียมใช้ชีวิตคู่ 
  2. ใช้ชื่อสถานบริการนี้ว่า “คลินิกให้คำปรึกษาก่อนสมรส” 
  3. ดำเนินงานโดย พ.อ. นพ.วิวัฒน์ ศุภดิษฐ์ 
  4. มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในสังคมไทย 
  5. โดยจะให้การรักษาดูแลสุขภาพร่างกายให้แก่คู่สมรส 
  6. จะให้คำแนะนำวิธีการเลี้ยงดูและการดูแลทารกด้วยนมแม่ 
  • 9.โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองดังกล่าวเป็นรูปแบบของการพัฒนาศักยภาพของผู้ปกครองให้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดู และส่งเสริมพัฒนาการตลอดจนการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก 
  1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้จัดทำแผนงานพัฒนาพ่อแม่ ผู้ปกครอง สมาชิกในครอบครัวและผู้ที่เตรียมตัวเป็นพ่อแม่ ดังนี้ 
  2. สถานศึกษา รณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงการพัฒนาเด็กปฐมวัย 
  3. จัดบริการเสริมความรู้ ความเข้าใจ ฝึกทักษะให้เข้าใจในวิธีเลี้ยงดูเด็ก 
  4. ส่งเสริมให้องค์กรของรัฐ เอกชน ท้องถิ่นจัดฝึกอบรม 
  5. สนับสนุนโครงการต่างๆที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาเด็กปฐมวัย 
  6. จัดให้มีวิธีการประเมินผลการพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง 
โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ
  • 1.โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
            ประเทศอิสราเอลถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง
เพราะถือว่าการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ จึงมีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 3-4 ปี รัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ พ่อแม่ผู้ปกครองถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล การทำงานระหว่างบ้านกับโรงเรียนและชุมชนถือเป็นงานปกติที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามหน้าที่
  • 2.โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัย  ที่เรียกว่า ALEH (Early Childhood Enrichment Center)  ศูนย์ ALEH จะมีกิจกรรมช่วยพ่อแม่ผู้ปกครอง ดังนี้ 
  1. สอนแม่ที่อายุยังน้อยให้รู้จักใช่สื่อ-อุปกรณ์ 
  2. จัดกิจกรรมสอนให้แม่ทำของเล่นให้ลูกหรือคิดสร้างเกมการเล่นกับลูก 
  3. ประสานงานกับคลินิกครอบครัวแม่และเด็ก 
  • 3.โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี
             การจัดการศึกษานอกระบบแก่พ่อแม่ก็ว่าได้ โดยโครงการนี้ชื่อ HATAF โปรแกรม
โครงการที่ร่วมมือกันทำระหว่างมหาวิทยาลัยเยรูซาเล็มกับกระทรวงศึกษาธิการ เป็นโครงการที่จัดรูปแบบการสอนพ่อแม่ที่มีลูกอายุ 1-3ปี ซึ่งกิจกรรมที่สอนพ่อแม่ผู้ปกครองก็คือ ให้พ่อแม่ได้พัฒนาทักษะการพูด-คุยกับลูก ได้เรียนรู้พัฒนาการทั้งทางด้านสติปัญญา อารมณ์และสังคม สอนให้พ่อแม่จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมให้ลูกอย่างง่ายๆ รู้จักใช้วัวดุในครัวเรือนและท้องถิ่นเป็นสื่อ –อุปกรณ์
สอนให้รู้จักจัดกิจกรรมการเล่นกับลูกที่มีอายุ 1-3 ปี
  • 4.โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก
  1. จัดขึ้นสำหรับเด็ก 4-6 ปี พร้อมด้วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง 
  2. วัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองใช้เวลาว่างร่วมกับลูก 
  3. สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ และสนุกกับกิจกรรม-ผลงานที่ลูกสร้างขึ้น 
  4. โดยมีวิทยากรเป็นครูจากเนสเซอรี่ หรือ รร.อนุบาลหรือผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะ-ดนตรี เกมการศึกษา นาฏศิลป์ ร้องรำทำเพลง ฯลฯ 
  5. ก่อนเริ่มกิจกรรมจะมีกรพูดคุยกับพ่อแม่ถึงกิจกรรมที่จะเล่นกับเด็ก 
  6. เมื่อจบกิจกรรมก็จะมีการพูดคุยสรุปและประเมินผล 
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
           เมื่อปี ค.ศ. 1930 สหรัฐอเมริกาได้ประสบปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อครอบครัว จึงได้มีการประชุมเรื่อง สุขภาพเด็กและแนวทางการแก้ไขปัญหา  โดยได้เสนอให้มีการจัดทำหลักสูตรการให้ความรู้ผู้ปกครองไว้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาของทุกรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
  1. เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย รวมทั้งลักษณะของชีวิตครอบครัว 
  2. ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมของเด็ก 
  3. ได้อภิปรายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณีที่มีต่อชีวิตครอบครัว 
  4. เพื่อให้เข้าใจลักษณะและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา 
           กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการศึกษาเด็กด้วยการสนับสนุนให้ครอบครัวเข้ามามีบทบาทต่อการจัดการศึกษา โดยกำหนดให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 2 เรื่องคือ
  1. ความพร้อมที่จะเรียน พ่อแม่จะต้องเตรียมความพร้อมให้ก่อนลูกจะเข้าเรียนและอุทิศเวลาแต่ละวันเพื่อช่วยลูกให้ได้เรียน
  2. การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้กำหนดให้โรงเรียนทุกแห่งส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนที่จะทำให้ผู้ปกครองนักเรียนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของเด็กในด้านสังคม อารมณ์ และด้านวิชาการ
  • 1.โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่
มีการจัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ ขึ้นในทุกรัฐ ดำเนินงานนั้นให้ผ่านไปยังองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (NGO) โดยให้การอบรมความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครอง ภายใต้คำนิยาม
“การศึกษาของพ่อแม่ (Parent Education)
“โครงการพ่อแม่ในฐานะครู” (Parents as Teachers Program) และ
“โครงการสอนเด็กเล็กในบ้าน” (Home Instruction for Preschool Youngsters Program) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
  1. ให้เข้าใจเรื่องความต้องการทางการศึกษาของเด็ก
  2. ให้สนับสนุนในการช่วยเหลือในการเรียนของเด็กจนประสบความสำเร็จ
  3. สามารถที่จะติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างครู ผู้บริหารและนักเรียน
  4. มีส่วนร่วมในการออกแบบรับความช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่ไม่ได้มาโรงเรียน เช่น การให้บริการเอกสารในเรื่องต่างๆ
  • 2.โครงการ เฮดสตาร์ท (Head Start)
         เป็นโครงการระดับชาติที่ให้บริการด้านพัฒนาการแก่เด็กอายุ 3-5 ปี พ่อแม่มีรายได้น้อย
และบริการด้านสังคม สำหรับเด็กเน้นเรื่องการศึกษา พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม สุขภาพกาย จิตใจและโภชนาการ พื้นฐานสำคัญของโครงการนี้คือ การมีส่วนร่วมของพ่อแม่และชุมชน
โครงการเฮมสตาร์ท มีฐานะเสมือนห้องปฏิบัติการระดับชาติ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
  1. สร้างครอบครัวให้เข้มแข็งในการอบรมเลี้ยงดูเด็กขั้นต้น
  2. เชื่อมโยงเด็กและครอบครัวต่อการบริการชุมชนที่มีความต้อการจำเป็น
  3. ประกันโครงการที่จัดการดีว่าพ่อแม่เด็กมีส่วนร่วมในการตกลงใจ
  • 3.โครงการ โฮมสตาร์ท (Home Start Program)
         เป็นการนำพ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาของเด็กเล็กซึ่งอยู่ภายใต้โครงการใหญ่คือ เฮดสตาร์ท เป้าหมายคือเพื่อสร้างความสำนึกให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนที่มีต่อเด็กและชี้ให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กเห็นคุณค่าของการมีส่วนร่วมของมารดาที่มีผลต่อการเรียนของเด็กด้อยโอกาสโดยช่วยเหลือสนับสนุนให้ครอบครัวมีความสามารถดูแลเด็กอย่างถูกต้องและมีสมรรถภาพ
  • 4.โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart Start)
  1. ก่อตั้งโดยนายจิม ฮั้น ผู้ว่าการมลรัฐแคโรไลนาเหนือ ในปี พ.ศ. 2536 
  2. ได้จัดให้มีคณะทำงานศึกษาสาระปัญหาเด็กเล็ก 
  3. ปัจจุบันกระทรวงทรัพยากรมนุษย์เป็นผู้ดำเนินโครงการ 
  4. โครงการนี้สร้างสรรค์ขึ้นจากความคิดริเริ่มด้านเด็กเล็กจากแรงผลักดันของท้องถิ่น ชุมชนรวมตัวกันเข้าเรียกร้องความต้องการให้เด็กเล็ก 
  5. โดยมีเป้าหมายที่เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ให้มีสุขภาพและความพร้อมที่จะเรียนให้สำเร็จ 
  • 5.โครงการ Brooklyne Early Childhood
  1. เป็นโครงการที่ฝึกให้ผู้ปกครองเป็นครูในการสอนลูก 
  2. ดำเนินการโดย Brooklyne Public School 
  3. ได้รับความร่วมมือจากศูนย์การแพทย์ในโรงพยาบาลเด็ก 
  4. จัดการศึกษาให้แก่ผู้ปกครอง 
  5. มีการตรวจสุขภาพเด็กเบื้องต้นเพื่อให้สามารถรักษาดูแลความเจ็บป่วย ความพิการหรือข้อบกพร่องต่างๆ ในระยะต้นได้ 
  6. ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการเลี้ยงดูเด็กอย่างถูกวิธี 
  7. และวิธีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป 
  8. ด้วยการฝึกให้เด็กเล่นรวมกลุ่ม 
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์
           ประเทศนิวซีแลนด์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาปฐมวัย โดยการศึกษาในระดับนี้จะให้โอกาสผู้ปกครองใช้สิทธิในฐานะหุ้นส่วนในการจัดการศึกษาปฐมวัย และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรหลาน ครูอนุบาลที่มีความสามารถจะให้โอกาสผู้ปกครองและครอบครัวแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก การเรียนการสอน และส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ปกครองอยู่ด้วยในช่วงที่มีการเรียน
  • 1.โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์
  1. พ่อแม่ไปมีส่วนร่วมด้วยทั้งหมด นับตั้งแต่การจัดตั้ง การบริหาร การดำเนินงาน 
  2. มีการควบคุมมาตรฐานที่รัฐบาลรับรอง 
  3. สามารถจัดบริการให้แก่เด็กเล็กได้หนึ่งในสามของเด็กปฐมวัยทั้งหมดของประเทศ 
  4. ปรัชญาในการทำงานคือ “พ่อแม่คือครูคนแรก และเป็นครูที่ดีที่สุดของลูก” 
  • 2.โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
  1. โรงเรียนจัดนิทรรศการสำหรับผู้ปกครอง 
  2. เพื่ออธิบายถึงปรัชญาที่และนโยบายเรื่องประโยชน์ของการศึกษาที่มีต่อผู้ปกครอง 
  3. มีการสำรวจความรู้ของผู้ปกครองเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยและจัดเตรียมแฟ้มข้อมูลข่าวสาร 
  4. เพื่อให้ความรู้เพิ่มเติมแก่ผู้ปกครองตลอดจนการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในการวางแผน จัดทำหลักสูตร การพัฒนาทักษะ การประเมินผลการเรียน และการประเมินผลการจัดการศึกษากับผู้ปกครอง 
  • 3.โครงการ “พ่อแม่คือครูคนแรก” (Parents as First Teachers)
  1. ให้ข้อมูลแก่พ่อแม่ให้มีความรู้ความเข้าเข้าใจพัฒนาการของเด็กก่อนเกิดและตั้งแต่เกิดถึง 3 ขวบ 
  2. รัฐบาลส่งเสริมให้พ่อแม่ทุกคนเข้าร่วมโครงการได้ตามความสมัครใจและไม่เสียค่าใช้จ่าย 
  3. โครงการนี้จะคัดเลือกพ่อแม่ที่ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจอย่างดีมาเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เรียกว่า “พ่อแม่นักการศึกษา” 
  4. พ่อแม่จะได้รับข้อมูลเช่น การสร้างประสบการณ์การศึกษาที่ตื่นเต้นแก่ลูกโดยไม่ต้องใช้ของเล่นราคาแพง 
  5. การส่งเสริมให้ลูกรักการอ่านหนังสือ 
  6. การจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยและสนุก 
  7. การแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และการส่งเสริมให้ลูกพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพมากที่สุด 
โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย
  1. มีรูปแบบในการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในลักษณะที่เรียกว่า (Early Childhood Center) หรือ ศูนย์สุขภาพเด็ก (Baby Health Center) 
  2. เป็นศูนย์ที่ให้บริการคำแนะนำฟรีสำหรับพ่อแม่และทารกจนถึง 5 ปี 
  3. เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์จะเป็นพยาบาลทั่วไป 
  4. จะทำการนัดหมายให้พ่อแม่พาลูกไปชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ดูพัฒนาการของลูก ไปเยี่ยมบ้าน โดยเฉพาะทารกที่มีปัญหา เช่น ตัวเหลืองรวมทั้งไปสอนการดูแลการอาบน้ำเด็กทารกจนกระทั่งแม่แข็งแรงดี 
  5. มีการจดบันทึกข้อมูลเด็กลงในสมุดสีฟ้า (blue book) ซึ่งเด็กทุกคนต้องมีสมุดเล่มนี้ สำคัญเหมือนบัตรประชาชน 
  6. ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกายและใจ โดยเฉพาะคุณแม่ที่เพิ่งมีลูกคนแรก 
โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)
            โครงการ บุ๊คสตาร์ท หรือเรียกว่า “หนังสือเล่มแรก” ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง ภายใต้ บุ๊คทรัสต์ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีจุดมุ่งหมายในการนำหนังสือสู่คน นำคนสู่หนังสือ นับเป็นโครงการแรกของโลกที่ว่าด้วยหนังสือสำหรับเด็กทารก
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กทารกในอังกฤษทุกคนได้รับโอกาสและสนับสนุนให้พัฒนาความรู้สึกรักหนังสือและการอ่านไปตลอดชีวิต ด้วยการจัดสรรให้เด็กทารกทุกคนได้รับ “ถุงบุ๊คสตาร์ท” ภายในถุงประกอบด้วย
  1. หนังสือที่ได้รับการคัดสรรแล้ว 2 เล่ม 
  2. หนังสือแนะนำพ่อแม่ด้วยภาพเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กและโยงไปถึงการเลี้ยงดูด้วยหนังสือ 
  3. ของชำร่วยสำหรับเด็ก เช่น ผ้ารองจานฯลฯ 
  4. แผนที่แนะนำห้องสมุดแถวละแวกบ้าน 
  5. บัตรสมาชิกห้องสมุดสำหรับเด็ก 
  6. รายชื่อหนังสือสำหรับเด็ก 
  7. รายชื่อศูนย์สนับสนุนคุณแม่เลี้ยงลูก 
โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan)
             เมื่อปี พ.ศ. 2543 ญี่ปุ่นประกาศให้เป็น “ปีแห่งการอ่านของเด็ก”
มีการนำโครงการบุ๊คสตาร์ทของประเทศอังกฤษเข้ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่น โดยมีศูนย์สนับสนุนบุ๊คสตาร์ทเป็นเจ้าของโครงการ ด้วยหลักการและเหตุผลที่ว่า ภาษามีความสำคัญต่อการหล่อเลี้ยงจิตใจเด็ก เด็กเล็กต้องการอ้อมกอดอันอบอุ่นและเสียงพูดคุยอย่างอ่อนโยน โครงการบุ๊คสตาร์ทสนับสนุนสัมผัสอันอบอุ่นโดยมี “หนังสือภาพ” เป็นสื่อกลาง โดยทดลองที่เขตสุงินามิ ในกรุงโตเกียวเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 ได้รับความร่วมมือจากศูนย์อนามัย ห้องสมุดและหน่วยงานสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็ก สามองค์กรร่วมกันแจกถุงบุ๊คสตาร์ทแก่แม่ที่พาลูกมาตรวจสุขภาพในช่วงอายุ 4 เดือน โดยมีเป้าหมาย 200 ครอบครัว และก็ได้มีการแพร่ขยายไปอย่างรวดเร็วในประเทศญี่ปุ่น
  • สรุป
            จากโครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศที่ได้ยกตัวอย่างมานั้น จะเห็นได้ว่าทุกประเทศให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาเด็กตั้งแต่เด็กปฐมวัย ซึ่งมีความสำคัญยิ่ง เป็นวัยแห่งการเริ่มต้นที่ดีของชีวิต พ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมและมีคุณภาพในการดูแลเด็ก เพื่อให้เด็กได้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศ
  • คำถามท้ายบท
1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ  มีเป้าหมายคือเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนซึ่งถือเป็นทรัพยาการที่มีคุณค่ายิ่ง

2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
ตอบ  คิดว่าเป็นสิ่งที่ดีมากเพราะจะทำให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กมากยิ่งขึ้นและสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้จริง

3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5 เรื่อง
ตอบ

  1. พัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กปฐมวัย
  2. อาหารและโภชนาการสำหรับเด็ก
  3. การเลือกของเล่นสำหรับเด็ก
  4. การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
  5. สุขภาพอนามัยแม่และเด็ก

4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ  ได้  เพราะเมื่อผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจก็จะนำความรู้นั้นไปพัฒนาเด็กได้

5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ  ติดตามผลจากการประชุมผู้ปกครองเพราะเป็นช่วงที่ผู้ปกครองได้มาพบปะกันพูดคุยแลกเปลี่ยน

การประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมได้
การประเมินผล
  • ประเมินตนเอง  ตั้งใจและจดเนื้อหา  ตอบคำถามของจารย์ได้
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆมีความความตั้งใจดี  
  • ประเมินผู้สอน  ผู้สอนมีเนื้อหาที่หลากหลายไม่หน้าเบื่อ