บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
วันที่ 15 สิงหาคม 2559
ความรู้ที่ได้รับ
- หลักเบื้องต้นในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
- ความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
- ความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
1. เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
2. เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก
3. ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
5. ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง
- วัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
1. เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
2. เพื่อให้ความรู้และวิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
3. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
5. เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน
- รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
- การให้ความรู้แบบทางการ (formal) เช่น การบรรยาย การอภิปราย การโต้วาที ฯลฯ
- การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ (informal) เช่น การระดมสมอง การประชุมโต๊ะกลม การประชุมกลุ่มย่อย
1. การใช้บ้านเป็นฐานในการเรียนรู้ (home base) เป็นการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับผู้ปกครองถึงที่บ้าน เช่น การเยี่ยมบ้าน การส่งจดหมาย เอกสารถึงบ้าน การจัดทำโฮมสคูล (Home School)
2. การใช้โรงเรียนเป็นฐานในการเรียนรู้ (school base) เป็นการจัดกิจกรรมความรู้ให้ผู้ปกครองที่โรงเรียน เช่น การจัดแสดงผลงานเด็ก การประชุม การจัดสัมมนา การจัดนิทรรศการ การจัดมุมผู้ปกครอง
3. การใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้ (community vase) เป็นการเผยแพร่ความรู้ผ่านชุมชน เช่น หมู่บ้าน วัด โบสถ์ มัสยิด วิทยุ โทรทัศน์ ระบบอินเตอร์เน็ต วารสาร นิตยสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมที่จัดโดยผ่านชุมชนประเภทต่างๆ พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถเลือกเรียนรู้ได้ตามความสนใจที่สอดคล้องกับสภาพทางครอบครัว สังคม และวัฒนธรรมของตนเอง นับเป็นแนวทางให้ความรู้ที่เหมาะสมกับผู้ปกครองในสังคมยุคปัจจุบันมากขึ้น
- แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
1. สำรวจความสนใจ ความต้องการ รวมทั้งปัญหาต่างๆ ในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก โดยการสัมภาษณ์หรือใช้แบบสอบถาม
2. จัดบริการต่างๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ปกครอง เช่น - เชิญวิทยากรมาบรรยาย อภิปราย สาธิต
- จัดห้องสมุดและศูนย์ของเล่นสำหรับเด็ก
- จัดศูนย์แนะแนวผู้ปกครองเพื่อให้คำแนะนำ
- จัดตั้งชมรมหรือสมาคมผู้ปกครอง
Linda Bierstecker, 1992 ได้เสนอแนวทางในการเตรียมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไว้ดังนี้
การมีส่วนร่วมของสังคมเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
- บทบาทของผู้ปกครองในการร่วมกิจกรรม การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
อรุณี หรดาล (2536) ได้กล่าวถึงบทบาทของผู้ปกครองไว้ ดังนี้
- แนวปฏิบัติของสถานศึกษา
1. รับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกที่ผู้ปกครองมีกับลูก
2. ขณะที่พูดคุยกับผู้ปกครองเด็ก ไม่ใช้เป็นการพูดถึงเด็กในทางที่ไม่ดีเท่านั้น แต่ควรพูดถึงในสิ่งที่ดีที่เด็กสามารถพัฒนาขึ้นมาก
3. ควรหลีกเลี่ยงคำอธิบายหรือใช้คำศัพท์ทางวิชาการในการอธิบายพูดคุยกับพ่อแม่
ผู้ปกครอง
- สรุป
- คำถามท้ายบท
ตอบ เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กเป็นการทำให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
2. ในสถานศึกษาปฐมวัยสามารถดำเนินกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองในลักษณะหรือรูปแบบใดบ้าง จงอธิบาย และยกตัวอย่างของกิจกรรม
ตอบ การให้ความรู้แบบทางการ เช่น การบรรยาย การอภิปราย การโต้วาที
การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ เช่น การระดมสมอง การประชุมโต๊ะกลม การประชุมกลุ่มย่อย
3. นักศึกษามีแนวคิดอย่างในการใช้บ้านเป็นฐานของการให้ความรู้ผู้ปกครอง
ตอบ การใช้บ้านเป็นฐานของการให้ความรู้ผู้ปกครองเ็นสิ่งที่ดีเพราะจะช่วยผู้ปกครองที่ไม่มีเวลาว่างสะดวกยิ่งยิ่งและเป็นการสร้างความคุ้นเคยทำความรู้จักพื้นเพของเด็กได้อีกด้วย แต่การใช้บ้านเป็นฐานการให้ความรู้นั้นอาจจะทำให้ล่าช้าในการให้ข้อมูล
4. องค์ความรู้ที่จำเป็นในการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง
ตอบ พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน การจัดการศึกษารวมถึงการดูและเอาใจใส่เด็กด้วย
การประยุกต์ใช้
- สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการให้ความรู้ผู้ปกครองไปใช้ได้จริงเวลาจัดกิจกรรม
การประเมินผล
- ประเมินตนเอง ขาดเรียนเนื่องจากไม่สบายแต่ได้ไปทบทวนเนื้อหาจากpowerpoint
- ประเมินเพื่อน -
- ประเมินผู้สอน -
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น